Garlic th. กระเทียม sc. name. Allium sativum Linn
กระเทียมเป็นเครื่องเทศประจำครัวไทย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่รู้จักหัวกระเทียมเป็นอย่างดี กระเทียมสดกลีบเล็ก มีกลิ่นหอม ฉุนกว่ากระเทียบ กลีบใหญ่ กลิ่นกระเทียมเจียวหอมชื่นใจ ...เรียกน้ำย่อยได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่กระเทียมจึงถูกนำ มาใช้ปรุงรส แต่งกลิ่น และดับคาวอาหาร ใช้ได้กับ อาหารคาว และของว่าง ไม่ว่าจะเป็นการทอด ต้ม นึ่ง และผัด เป็นต้องพึ่งกระเทียมร่ำไป หรือแม้นกระทั่งขาหมูรสเลิศยังต้องมีกระเทียมคู่ใจเป็นเครื่องเคียงซึ่งเป็น ความชาญฉลาดของผู้คิดจริงๆเนื่องจากขาหมูมีไขมันมีโคเลสเตอรอลสูง ก็ได้กระเทียมนี่แหละที่ช่วยลดโคเรสเตอรอล ป้องกันโรคได้ดี
คุณค่าทางอาหารและยา กระเทียมมีสารอาหารสำคัญ ๆ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามินบี๑ วิตามินซี ไนอาซิน และเส้นใยอาหาร โดยเฉพาะฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินบี ๑ ที่มีในปริมาณสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟัน บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงประสาทและช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง หัวกระเทียมสดมีสารอัลลิซิน (Allicin) ที่สามารถลดปริมาณ ไขมันในเลือดได้ทั้งในคนปกติ และในคนไข้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยปกป้องหลอดเลือดแดงไม่ให้แข็งเปราะ ควบคุมความดันให้เป็นปกติ แก้หวัดภูมิแพ้ ป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่มที่จะก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และหัวใจขาดเลือด ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย ละลายลิ่มเลือด มีฤทธิ์ในการระงับอาการปวดท้อง ขับลม ลดอาการจุกเสียด นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบในปากและคอ หรือใช้รักษาอาการทอนซิลอักเสบในระยะแรก และกระเทียมบดยังใช้ทาแก้อาการกลาก เกลื้อนได้ดีอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์กระเทียมเป็นมียอดจำหน่ายติดอันดับ 1-5 ของโลกตลอดมา และไม่ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่มากมายเพียงใด กระเทียมไม่เคยตกจาก Top Chart และมียอดจำหน่ายอันดับหนึ่งของโลกในปี 2004
เคล็ดลับของกระเทียมอยู่ที่สารออกฤทธิ์ อัลลิซิน ซึงมีอยู่ 200 PPM W/W ซึ่งกลิ่นของหัวกระเทียมสดก็จะเป็นเช่นผักธรรมดา แต่เมื่อมีการทุบหรือบด ก็จะเกิดกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ซึ่งให้ความหอมในการปรุงอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ประโยชน์อันสูงส่งของกระเทียมไม่ได้อยู่ที่กลิ่นเท่านั้น เพราะกลิ่นเกิดจากการสลายตัวของอัลลิซิน ประโยชน์ต่อสุขภาพจึงไม่เต็มที่ แต่อยู่ที่สารตั้งต้นคือ อัลลิซิน ซึ่งต้องใช้กระบวนการผลิตอันพิเศษกว่าการแปรรูปธรรมดาในการรักษาอัลลิซินให้ คงสภาพไว้ได้ ผลิตภัณฑ์กระเทียมทั้งหลายในโลกมักไม่มีสารอัลลิซิน หรือมีน้อยมาก บางชนิดก็ใช้น้ำมันกระเทียมเจือจางกับน้ำมันพืช 1:400 หรือ 1:100 แล้วทำเป็นแคปซูลนิ่ม ซึ่งมักไม่มีอัลลิซินเช่นกัน และมีต้นทุนที่ต่ำมาก จึงจำหน่ายในราคาถูก
ขาวละออเภสัช ได้รับความร่วมมือจาก GTZ เยอรมนี ในการพัฒนาสารออกฤทธิ์อัลลิซิน ปริมาณสูงและคงตัว คือ 1,000 PPM ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของ GERMANY คือ 600 PPM โดยใช้เวลาพัฒนาตั้งแต่ปี 1991-1994 ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ อิมมิวนีท้อป ของขาวละออ จึงได้ประโยชน์จากกระเทียมสกัดสูงสุด
เพราะโรคหลอดเลือดและหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ และกว่าจะแสดงอาการไขมันก็สะสมมากแล้ว ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
คุณค่าทางอาหารและยา กระเทียมมีสารอาหารสำคัญ ๆ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรท แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามินบี๑ วิตามินซี ไนอาซิน และเส้นใยอาหาร โดยเฉพาะฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินบี ๑ ที่มีในปริมาณสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟัน บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงประสาทและช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง หัวกระเทียมสดมีสารอัลลิซิน (Allicin) ที่สามารถลดปริมาณ ไขมันในเลือดได้ทั้งในคนปกติ และในคนไข้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยปกป้องหลอดเลือดแดงไม่ให้แข็งเปราะ ควบคุมความดันให้เป็นปกติ แก้หวัดภูมิแพ้ ป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่มที่จะก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด และหัวใจขาดเลือด ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย ละลายลิ่มเลือด มีฤทธิ์ในการระงับอาการปวดท้อง ขับลม ลดอาการจุกเสียด นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดการอักเสบในปากและคอ หรือใช้รักษาอาการทอนซิลอักเสบในระยะแรก และกระเทียมบดยังใช้ทาแก้อาการกลาก เกลื้อนได้ดีอีกด้วย
ผลิตภัณฑ์กระเทียมเป็นมียอดจำหน่ายติดอันดับ 1-5 ของโลกตลอดมา และไม่ว่าจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่มากมายเพียงใด กระเทียมไม่เคยตกจาก Top Chart และมียอดจำหน่ายอันดับหนึ่งของโลกในปี 2004
เคล็ดลับของกระเทียมอยู่ที่สารออกฤทธิ์ อัลลิซิน ซึงมีอยู่ 200 PPM W/W ซึ่งกลิ่นของหัวกระเทียมสดก็จะเป็นเช่นผักธรรมดา แต่เมื่อมีการทุบหรือบด ก็จะเกิดกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ซึ่งให้ความหอมในการปรุงอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ประโยชน์อันสูงส่งของกระเทียมไม่ได้อยู่ที่กลิ่นเท่านั้น เพราะกลิ่นเกิดจากการสลายตัวของอัลลิซิน ประโยชน์ต่อสุขภาพจึงไม่เต็มที่ แต่อยู่ที่สารตั้งต้นคือ อัลลิซิน ซึ่งต้องใช้กระบวนการผลิตอันพิเศษกว่าการแปรรูปธรรมดาในการรักษาอัลลิซินให้ คงสภาพไว้ได้ ผลิตภัณฑ์กระเทียมทั้งหลายในโลกมักไม่มีสารอัลลิซิน หรือมีน้อยมาก บางชนิดก็ใช้น้ำมันกระเทียมเจือจางกับน้ำมันพืช 1:400 หรือ 1:100 แล้วทำเป็นแคปซูลนิ่ม ซึ่งมักไม่มีอัลลิซินเช่นกัน และมีต้นทุนที่ต่ำมาก จึงจำหน่ายในราคาถูก
ขาวละออเภสัช ได้รับความร่วมมือจาก GTZ เยอรมนี ในการพัฒนาสารออกฤทธิ์อัลลิซิน ปริมาณสูงและคงตัว คือ 1,000 PPM ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของ GERMANY คือ 600 PPM โดยใช้เวลาพัฒนาตั้งแต่ปี 1991-1994 ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ อิมมิวนีท้อป ของขาวละออ จึงได้ประโยชน์จากกระเทียมสกัดสูงสุด
เพราะโรคหลอดเลือดและหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ และกว่าจะแสดงอาการไขมันก็สะสมมากแล้ว ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด